วิธีการเลือกซื้อเพชร

Date: 06/06/2014

การประเมินคุณภาพเพชรตามหลัก 4Cs

 

การเลือกซื้อเพชรนั้น สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกซื้อคือ การประเมินคุณภาพของเพชร เพื่อให้ทราบว่าเพชรที่เราต้องการจะซื้อนั้นมีมีราคาเหมาะสมกับคุณภาพหรือไม่ ซึ่งวิธีการประเมินคุณภาพเพชรในปัจจุบัน คือวิธีที่เรียกว่า 4C’s ซึ่งเป็นการประเมินคุณภาพเพชรตาม Carat Weight (น้ำหนัก), Cut (การเจียระไน), Clarity (ความสะอาด) และ Color (สี) ดังนี้

ตัวแปรสำคัญที่มีผลกับราคาเพชรคือ น้ำหนัก ซึ่งน้ำหนักของเพชรนั้นมีหน่วยเป็น กะรัต (Carat) โดยมีค่าเท่ากับ 200 มิลลิกรัมหรือ 0.2 กรัม และในหนึ่งกะรัตแบ่งออกเป็น 100 สตางค์ (Point) ในความเป็นจริงเพชรที่มีขนาดใหญ่ ก็จะยิ่งหายากทำให้ราคาสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดเป็นขั้นบันได ดังรูป

Image title

การเจียระไนเพชรกลมเหลี่ยมเกสร (Round Brilliant Cut) เป็นการเจียระไนที่นิยมในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการพัฒนาต่อเนื่องกันมาหลายยุคสมัยโดยการประเมินคุณภาพเพชรจากการเจียระไนหลักๆจะประกอบด้วย

ความสมมาตรของเพชร (Symmetry) หมายถึง รูปร่างของเพชรจะต้องมีสัดส่วนที่สมมาตรกัน รูปร่างไม่เบี้ยวก้นเพชรไม่ยาวหรือสั้นเกินไป หน้าเพชรไม่กว้างหรือแคบเกินไป

คุณภาพการเจียระไน (Cut Grade) หมายถึงคุณภาพการเจียระไนทั้งหมดตั้งแต่การจัดวางหน้าเหลี่ยมต่างๆ ของเพชร รูปทรงของเหลี่ยมเพชรที่ถูกต้อง 

คุณภาพการขัดเงาที่ผิว (Polish) หมายถึง การขัดเงาที่ผิวจะต้องเรียบสวย ไม่มีรอยขีดข่วนหรือด่างหรือรอยไหม้

ซึ่งสถาบันอัญมณีส่วนใหญ่จะมีการแบ่งคุณภาพของ  Cut Grade, Symmetry และ Polish ตั้งแต่ Excellent (ดีที่สุด) -> Very good -> Good -> Fair -> Poor (แย่ที่สุด) ดังรูป

ซึ่งคำว่า 3Ex หรือ 3 Excellent นั้นหมายความว่า คุณภาพของการเจียระไนเพชรเม็ดนั้นทั้ง Cut Grade, Symmetry และ Polish เป็น Excellent


Image titleImage title

ซึ่งบางครั้งเพชรที่เจียระไนได้สัดส่วนสวยงามบางครั้งจะทำให้เพชรเกิดรูปแบบที่เรียกว่า Heart & Arrow ซึ้งเมื่อมองผ่านกล้องHeart & Arrow จะเห็นเป็นรูปร่างหัวใจและลูกศรอยู่-ภายในเพชรดังรูป 

Image title

Clarity คือความสะอาดของเพชร ซึ่งเพชรที่จะมีประกายสวยงามนั้นจะต้องไม่มีตำหนิหรือรอยแตกภายใน เนื่องจากตำหนินั้นจะ ทำให้เพชรดูขุ่น และตำหนิบางชนิดของเพชรยังมีผลต่อความทนทานของเพชรทำให้เพชรมีโอกาศแตกสูง ดังนั้น สถาบันอัญมณีระดับโลก จึงได้มีการจัดระดับความสะอาดของเพชรดังนี้

Image title

  • FL (Flawless) – ไม่สามารถมองเห็นตำหนิได้เลยทั้งภายนอก (บนผิว หรือ Polish) และตำหนิภายใน เมื่อมองภายใต้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า

  • IF (Internal Flawless) -ไม่สามารถมองเห็นตำหนิภายใน เมื่อมองภายใต้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า

  • VVS1-VVS2 (Very Very Slightly Included 1-2) - เพชรมีตำหนิขนาดเล็กมากๆ แม้ใช้กล้องกำลังขยาย 10 เท่าก็เห็นได้ยาก และส่วนใหญ่จะไม่สามารถมองเห็นจากด้านหน้าของเพชร (Face up) ได้ ส่วนมากจะมองเห็นเมื่อมองจากก้นเพชรเท่านั้น (Face down) 

  • VS1-VS2 (Very Slightly Included 1-2) – เพชรมีตำหนิขนาดเล็ก มีปริมาณไม่มาก และไม่อยู่ตำแหน่งที่สามารถเห็นได้ชัดเมื่อมองภายใต้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า

  • SI1 –SI2(Slightly Included 1-2) – เพชรมีตำหนิมาก หรืออาจจะปรากฏอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเห็นได้ง่ายเมื่อมองภายใต้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า แต่ก็ยังมองเห็นได้ยากเมื่อมองด้วยตาเปล่า

  • I1-I3 (Imperfect 1-3) - เพชรมีตำหนิหรือมลทินขนาดใหญ่หรือมากกระจายอยู่ทั่วเพชร ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 

สีของเพชร (Color) โดยทั่วไปเพชรที่ไม่มีสี (Colorless) จะยิ่งราคาแพง เพราะเพชรส่วนใหญ่จะมีสีเหลืองหรือน้ำตาลติดมาทำให้มูลค่าของเพชรตกลงดังรูปImage title


 ดังนั้นสถาบันอัญมณีได้มีการแบ่งระดับความใสของเพชรซึ่งเริ่มจากเกรดที่ใสที่สุดคือ D หรือที่คนไทย เรียกว่า น้ำ 100 ไล่ไปเรื่อยๆ เช่น E (น้ำ 99), F (น้ำ 98), G (น้ำ 97) ไปจนถึง Z แต่ถ้าสีต่ำกว่า Z จะจัดอยู่ในกลุ่ม Fancy Colored Diamond ซึ่งมีราคาสูงมาก

 

การเรืองแสงของเพชรในที่นี้ หมายถึง การเรืองแสงของเพชรภายใต้แสงเหนือม่วงหรือแสง UV ซึ่งเป็นลักษณะทางธรรมชาติของเพชร  เชื่อว่าหลายๆคนคงได้สังเกตในใบเซอร์เพชรกันมาบ้าง  โดยในใบเซอร์จะระบุในส่วนของ Fluorescence ว่ามีระดับการเรืองแสงปริมาณเท่าใด สำหรับมาตรฐานของสถาบัน GIA จะระบุเป็น 5 ระดับ ได้แก่ None, Faint, Medium, Strong และ Very Strong 

Image title

ดังนั้นเพชรที่มี Fluorescence สว่างมากๆจะทำให้มูลค่าของเพชรตกลง เนื่องจากรังสี UV ในแสงแดดถึงจะมีปริมาณน้อยจนไม่สามารถทำให้เชรเรืองแสงออกมาเป็นสีฟ้าได้ แต่จะส่งผลกระทบทำให้เพชรขุ่นไม่ใส ดังนั้นการเลือกซื้อเพชรควรจะเลือกเพชรที่ไม่มี Fluorescence โดยสถาบันอัญมณีส่วนใหญ่จัดระดับการเรืองแสงของเพชรตั้งแต่ None (ไม่มี Fluorescence), Faint (จางๆ), Medium (กลาง), Strong (ชัด), และ Very Strong (ชัดมาก)

ใบรับประกันคุณภาพเพชรจากสถาบันมณีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

Gemological Institute Of America (GIA)  


สถาบันมณีศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกาGemological Institute Of America (GIA)ในปัจจุบัน(GIA)ได้รับความนิยมและเชื่อถือเป็นอย่างมากทั้งในสถาบันได้รับการศึกษาเกี่ยวกับอัญมณีระดับโลกและการออกใบรับรองคุณภาพ(Certificate)ทั้งเพชรและพลอยที่มีสาขามากมายทั่วโลกตั้งแต่ คาร์ลสแบต (อเมริกา) นิวยอร์ก(อเมริกา)ลอนดอน(สหราชอาณาจักร)ฟอเรนส์(อิตาลี)มอสโคว์(รัสเซีย)บูมไบ(อินเดีย) ไต้หวัน(ไต้หวัน)ฮ่องกง(จีน)ปักกิ่ง(จีน)โตเกียว(ญี่ปุ่น)โอซาก้า(ญี่ปุ่น)รวมไปถึงกรุงเทพฯ (ประเทศไทย)ซึ่งใบรับรองคุณภาพเพชรของ(GIA) แบ่งเป็น2 ประเภทคือ 


    1. ใบรับรองคุณภาพขนาดเล็ก

จะมีลายระเอียดพื้นฐาน4Cs และมีราคาถูกเหมาะกับเพชรเม็ดเล็กโดยใบรับรองแบบเล็กจะมีการยิงเลเซอร์เป็นรหัสตัวเลขที่ขอบ (Girdle)ของเพชรเพื่อเป็นการระบุว่าในรับรองเพชรตรงกับเพชรที่

คุณซื้อหรือไม่และยังสามารถนำตัวเลขนี้ไปตรวจสอบข้อมูลของเพชรนั้นได้จากฐานข้อมูลออนไลน์ของ GIA ได้ด้วยที่เว็บhttp://gia4cs.gia.edu


Image titleImage title

    

2. ใบรับรองคุณภาพแบบละเอียด  

ซึ่งมีรายละเอียดมากขึ้น ตั้งแต่ 4Cs รูปร่างจนถึงมีการวาดรูปเพชรและระบุชนิดและตำแหน่งตำหนิภายใน แต่ราคาการออกใบรับรองก็จะสูงขึ้นตาม ใบรังรองแบบละเอียดนี้จะไม่มีการยิงเลเซอร์ เป็นรหัสตัวเลขที่ขอบ (Girdle) ถ้าต้องการจะยิงเลเซอร์จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มImage titleImage title

 HRD Antwerp Institute of Gemology (HRD)

HRD เป็นสถาบันอัญมณีศาสตร์ของประเทศเบลเยี่ยมและได้รับความนิยมและเชื่อถือไม่น้อยไปกว่า(GIA)

ในประเทศไทยHRDได้มีกาจัดหลักสูตรการเรียนการสอนอัญมณีศาสตร์และการออกใบรับรองคุณภาพร่วมกับThe Gem and Jewelry Institute of Thailand (GIT)ซึ่งสามารถติดต่อได้ที่(GIT) โดยตรง

ใบรับรองคุณภาพเพชรของHRD จะไม่มีการยิงเลเซอร์เป็นรหัสตัวเลขที่ขอบ (Girdle)แต่จะให้วิธีปิดผนึกเพชรด้วยกล่องใสไว้กับใบรับรองคุณภาพเพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนเพชรหรือปลอมแปลงดเพชรกับใบรับรอง 

Image title

 International Gemological Institute (IGI)

เป็นสถาบันอัญมณีศาสตร์ของอเมริกาซึ่งมีชื่อเสียงมากในทวีปยุโรปโดยมาตรฐานการจัดระดับคุณ
ภาพเพชร ก็ได้ใช้หลักการเดียวกับสถาบันGIA และHRDมีการยิงเลเซอร์รหัสตัวเลขจากใบรับรองที่ขอบเพชรเหมือนกับGIA

Image title